top of page

EMOJI 😀 กับเทรนด์บนโซเชียลมีเดีย

รูปภาพนักเขียน: Wasinee KumthongWasinee Kumthong

ไอคอนขนาดเล็กที่คนทั่วโลกนิยมใช้แสดงอารมณ์บนโซเซียลมีเดีย หรือแอพส่งข้อความอย่าง WhatsApp, Facebook Messenger, Instagram Direct  


คำว่า Emoji มาจากภาษาญี่ปุ่น โดยคำว่า E (絵) หมายถึง รูปภาพ และ Moji (文字) หมายถึง ตัวอักษร พอเอามารวมกันจึงกลายเป็น อักษรภาพ 


Emoji เกิดขึ้นในปี ค.ศ 1998 เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยคุณชิเกตากะ คุริตะ (Shigetaka Kurita) หนึ่งในทีมพัฒนาระบบมือถือของบริษัท NTT Docomo ได้เกิดปิ๊งไอเดียระหว่างดูรายการพยากรณ์อากาศที่ใช้สัญลักษณ์อธิบายสภาพอากาศ และ หนังสือการ์ตูนที่ใช้ภาพแสดงอารมณ์ของตัวการ์ตูน ในยุคนั้นมือถือมีหน้าจอขนาดเล็กมาก พิมพ์ข้อความได้ไม่เกิน 250 ตัวอักษร เขาและทีมออกแบบใช้เวลา 1 เดือนทำ Emoji ชุดแรก 176 ตัว ขนาด 12 x 12 พิกเซล 


ต่อมาปี ค.ศ. 2010 Emoji ถูกนำมาใช้บนสมาร์ทโฟน จนถึงปัจจุบัน Emoji ได้ เติบโตแพร่หลายไปทั่วโลก มีจำนวนทั้งหมด 3,790 ตัว (ข้อมูลจากองค์กร Unicode ณ เดือนกันยายน 2024) * และทุกๆ วันที่ 17 กรกฎาคม เป็นวัน Emoji โลก 


The SoftBank 1997 emoji set


 เหตุผลที่ทำให้ Emoji กลายเป็นภาษาสากลที่คนนิยมทั่วโลก


  • สัญลักษณ์ที่ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก  อิโมจิถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกที่ซับซ้อนด้วยไอค่อน 1 รูป เช่น รูปรอยยิ้ม 😊 หรือ รูปหน้าบึ้งร้องไห้มีน้ำตา 😢 ทำให้ผู้ที่ได้รับจะเข้าใจถึงความหมายในทันทีและชัดเจนยิ่งขึ้น 

  • ดึงดูดความสนใจในฟีด  อิโมจิที่มีสีสันและรูปลักษณ์ต่างจากตัวอักษร เป็นจุดพักสายตาจากบทความขนาดยาว โดยช่วยดึงดูดสายตาให้หยุดดูเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

  • ใช้เป็น Bullet Point  เกริ่นหัวข้อด้วยรูปภาพของเนื้อหา นำอิโมจิมาใช้เป็น Bullet Point หรือจุดหัวข้อย่อยด้วยสัญลักษณ์หลากรูปร่างและสีสัน เพิ่มความน่าสนใจแทนจุดสีดำ 

  • เพิ่มการมีส่วนร่วม  ช่วยสร้างประสบการณ์การอ่านให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นใน Feed ของแต่ละ Social Media จากรีเสิร์ชพบว่าการใช้อิโมจิในโพสต์ Facebook เพิ่มการถูกใจและคอมเมนต์ได้ถึง 57% และโพสต์ Instagram ที่มีอิโมจิสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมได้ถึง 48%

  • สื่อสารความเป็นมิตรและเข้าถึงง่าย  อิโมจิสามารถทำให้เนื้อหาดูเป็นมิตร นอกจากนี้ยังทำให้เข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และสร้างการเชื่อมต่อกับผู้รับสาร


ถึงแม้อิโมจิจะมีความน่ารักและเข้าถึงการสื่อสารได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับผู้สื่อสาร เนื้อหา และผู้รับสารด้วย Ground Up จึงขอแนะนำวิธีใช้ Emoji ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีบน Social Media ดังนี้


  • เลือกอิโมจิอย่างระมัดระวัง บางอิโมจิมีความหมายต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม เช่น Emoji รูปนิ้วโป้ง โดยทั่วไปแล้วหมายถึง "โอเค" , "เข้าใจแล้ว" หรือ “ยอดเยี่ยม” แต่ในบางวัฒนธรรมอย่าง ออสเตรเลีย กรีซ และตะวันออกกลาง ท่าชู นิ้วโป้งขึ้น อาจถือเป็นเรื่องหยาบคาย

  • หลีกเลี่ยงการใช้อิโมจิมากเกินไป ใช้ Emoji มากเกินไปอาจทำให้ข้อความดูรกและสับสน แนะนำว่าควรใช้ไม่เกิน 1-2 อิโมจิต่อ 1 ข้อความ 

  • เลือกอิโมจิให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย พิจารณากลุ่มเป้าหมายที่ติดตาม Content ว่าเป็นกลุ่มคนยุคไหน เช่น Gen Z ใช้อิโมจิตามเทรนด์ปัจจุบันไ้ด้เลย โดยที่พวกเขาเห็นแล้วจะเข้าใจทันที “ 🫶 แสดงถึงความรัก หรือ ให้กำลังใจอีกฝ่าย ”   


เทรนด์ Emoji ปี 2024

ปัจจุบัน Emoji มีการพัฒนาและถูกเพิ่มใหม่ในทุกๆปีเพื่อให้อินเทรนด์อยู่เสมอ ในปี 2024 Emojipedia ได้จัด 10 อันดับอิโมจิยอดฮิต มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ! 


❤️  หัวใจสีแดง ความรัก ความโรแมนติก 

💀  หัวกะโหลก อันตราย ความตาย การเสียชีวิต 

😭  หน้าร้องไห้  อารมณ์โศกเศร้ารุนแรง

🫶  มือรูปหัวใจ การแสดงความรัก การสนันสนุนให้กำลังใจ 

😂 หน้ามีน้ำตา หัวเราะจนน้ำตาไหลด้วยความดีใจ 

เครื่องหมายถูก การทำบางอย่างเสร็จสมบูรณ์ หรือ แสดงถึงการตกลง 

ประกายแวววาว แสดงถึงบางอย่าง “สะอาดเป็นประกาย” หรือ การเฉลิมฉลอง ความตื่นเต้น 

⭐️ ดาว ความมีอำนาจ ความชื่นชม ในการสื่อสารทั่วไปใช้แทนคำว่า สุดยอด, เยี่ยม 

🥹 หน้ากลั้นน้ำตา    อารมณ์ที่ซับซ้อน เช่น ความสุข ความโล่งใจ ความขอบคุณ 

🤍 หัวใจสีขาว ความรักอันบริสุทธิ์ ความรักต่อครอบครัว ความรักนิรันดร์ 


การใช้อิโมจิสามารถช่วยเพิ่มพลังให้เนื้อหาบนโซเชียลมีเดียได้ดี ทั้งในเรื่องความสนใจ การมีส่วนร่วม รวมถึงทำให้เนื้อหามีประสิทธิภาพ และช่วยให้บทความโดดเด่นขึ้น 


นำอิโมจิไปใช้แบบไหนกันบ้าง อย่าลืมมาแบ่งปันใน Comment กันนะคะ 😊 


 

* Unicode คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน 


ข้อมูลอ้างอิง 



⚈ FB/ IG/ LINE : @gu.groundup

⚈ Chat with Us : https://lin.ee/w6b8e0b


 

Prim Wasinee Kumthong

Media Planner & Content writer



Comentários


bottom of page